HydroWeekly
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  
   Main webboard   »   General Board
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ผักใบหงิกครับ  (Read: 5429 times - Reply: 1 comments)   
chukiat_l

Posts: 1 topics
Joined: 26/1/2553

ผักใบหงิกครับ
« Thread Started on 26/1/2553 9:42:00 IP : 117.121.221.80 »
 

พอดีผมปลูกกวางตุ้งตอนใบหงิกหลายใบครับ

ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร และวิธีแก้ทำอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: ผักใบหงิกครับ
จำนวนข้อความทั้งหมด:  1
1
แสดงความคิดเห็น
HydroMaster

Posts: 3 topics
Joined: 25/3/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 26/1/2553 10:56:00 IP : 58.9.116.41 »   
Re: ผักใบหงิกครับ
 

อาการใบหงิก...ในผักไทย..น่าจะมาจากสาเหตุของการขาดธรตุอาหารบางตัว อยากให้ลองสักเกตุดูด้วยว่า ที่ขอบใบหลังจากหงิกแล้วมีอาการแห้งด้วยหรือไม่..

อาการดังกล่าว พอวิเคราะห์ออกไป 3 เหตุผล คือ

1.ขาด ธาตุไนโตรเจน พืชที่ขาดธาตุไนโตรเจนจะแคระแกร็น ใบอ่อนเล็กเรียว ใบแก่เหลืองซีด กิ่งและต้นบอบบาง ถ้าพืชขาดธาตุไนโตรเจนในช่วงเวลานานเกินไป ใบทั้งหมดจะ แสดงอาการเหลืองซีด และแห้งตายไปในที่สุด พืชเมืองร้อนมีความต้องการธาตุ ไนโตรเจนมากกว่าพืชเมืองหนาว

2.ขาด ธาตุแมกนีเซียม พืชที่ขาดธาตุนี้จะมีอาการเหลืองซีด ถ้าต้องการให้เมล็ดพืชสมบูรณ์ จะขาดธาตุ แมกนีเซียมไม่ได้ แต่ถ้าพืชได้รับธาตุแมกนีเซียมมากเกินไป พืชจะแสดงอาการม้วน ใบ และมีอาการเฉาตายจากปลายใบ

3.ขาดแสง ปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่พอเหมาะในสารละลายธาตุอาหาร ปัจจัยแสงสว่างก็เป็นตัวกำหนดปริมาณการใช้ธาตุโพแทสเซียม ในช่วงฤดูที่มีแสงจ้าอย่างเช่นในฤดูร้อน ผู้ปลูกสามารถลดปริมาณความเข้มข้นของ ธาตุโพแทสเซียมในสารละลายลงได้ถึงร้อยละ 60 ของที่ใช้อยู่ ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนที่ท้องฟ้ามักจะมืดและมีแสงสว่างน้อย แสงแดดมีความเข้มข้นน้อยทำให้ปริมาณแสงมีไม่พอเพียงต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งจะทำให้พืชผลิตสารคาร์โบไฮเดรตได้น้อย การผลิตสารโปรตีนในพืชจึงน้อยตามไปด้วย ปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่มีมากในสารละลายจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์สารคาร์โบไฮเดรต และการสังเคราะห์โปรตีนในภาวะที่ความเข้มข้นของแสงน้อย

อนึงสารละลายที่ร้านใช้ส่วนใหญ่จะถูกปรับมาเพื่อ ผักสลัด ทำให้ธาตุอาหารบางตัวของ ผักประเภทกวางตุ้งน้อยกว่าที่ชนิดพืดชนิดนั้นต้องการ..(แต่ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลหลักเสมอไป) และต้องการแสงเพิ่มขึ้น..

กรณีปลูกผักไทยเป็นหลักให้ปรับการเติมสารละลาย โดยเติมสารละลาย B มากกว่า A เล็กน้อย โดยใช้อัตราส่วน 3:2  คือ B:A  (ขวดสีแดง:ขวดสีเขียว)

สต๊อค B ประกอบด้วย (สารละลายออกสีแดงๆ)
 โปแตสเซียม ซัลเฟต 55.4 กรัม
 โปแตสเซียม ฟอสเฟต 17.7 กรัม
 แมกนีเซียม ฟอสเฟต 9.9 กรัม
 แมกนีเซียม ซัลเฟต 46.2 กรัม
 เหล็ก (ซีเลตติ้ง) 3.27 กรัม
 แมงกานีส ซัลเฟต 0.02 กรัม
 กรดบอริค 0.173 กรัม
 ซิงค์ ซัลเฟต 0.044 กรัม
 แอมโมเนีย โมดิบเดท 0.005 กรัม

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   General Board
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 59,395 Today: 13 PageView/Month: 89

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...