HydroWeekly
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  
(icons) 2009729_36571.jpg  
อุณหภมิน้ำในระบบปลูก NFT 24/08/52
 (jpg) 2009822_42531.jpg การรักษาอุณหภูมิในรางปลูกนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ อันดับต้นๆของการปลูกพืชไม่ใช้ดินในระบบ NFT..สินค้าที่ร้าน ส่วนใหญ่ใช้ราง NFT เป็นองค์ประกอบซะส่วนใหญ่..ดังนั้น..การบ้านของเราก็คือ ทำอย่างไร ความร้อนใน รางปลูกจะต้องไม่เกิน 30 องศาC.ถ้าเป็นหน้าหนาวก็คงไม่มีปัญหาอะไร..แต่ถ้าเป็นหน้าร้อน หรือ หน้าฝน...ควรจะแก้ไขอย่างไร..
 (jpg) 2009822_42828.jpg พวกมืออาชีพ หมายถึงต้องการปลูกผักสลัดเป็นอาชีพ..หวังผลเลิศ 100% NFT มักจะอยู่ในโรงเรือน Evap ( Evaporative Cooling )  ซะเป็นส่วนมาก..ไอ้ครั้นจะให้ลูกค้า ติด Evap ที่บ้าน ก็คงไม่มีใครทำกัน..ระบบ Evap เล็กๆ ครอบคลุม พท.12 ตรม. ค่าโรงเรือนก็ปาเข้าไปหลายหมื่น บางแห่ง ก็แสนต้นๆแล้ว....นี่ยังไม่รวมรางปลูก..และค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น..
แล้วโรงเรือน Evap นั้น ระบบสารละลาย จะต้องฝังไว้ใต้ดิน...ก็เพื่อ รักษาอุณหภมิ ของสารละลาย ระหว่าง 20- 25องศาC และเมื่อสารละลาย ขึ้นไปถึงรางปลูก ความเย็นของสารละลาย จะช่วยลด อุณหภูมิในระบบรางด้วย..รากพืชก็มีความสามารถดูน้ำและสารละลายเข้าสู่ลำต้นได้..เพราะช่วงเจริญเติบโตของพืชก็คือ การสังเคราะห์แสง..ในสภาวะที่เหมาะสม ของแต่ละชนิดพืช..
(jpg) 2009822_43111.jpg  พืช(ผักสลัดเมืองหนาว)ไม่สามารถดูน้ำแล้วก็สารละลายไปใช้ในการสังเคราะห์แสงได้เมื่ออุณหภูมิของสารละลาย เกิน 30 องศาC. ผลที่ตามมาก็คือ ...เหี่ยว..ครับ..หลังจากนั้นก็รากเน่าและตายในที่สุด..อ้าว...แล้วของที่ฉันซื้อไปละทำไง...ทุกครั้งที่ เราไปเยี่ยมลูกค้า เรามักจะเอามือจุมน้ำ..หรือไม่ก็วัดอุณหภูมิสารละลายก่อนเป็นอักดับแรก..ถ้าพบว่า ร้อน...ก็จะแนะนำให้..
 (jpg) 2009823_81012.jpg เอาขวดแป๊บซื้ ขนาด 1.25 ลิตร แช่ช่องฟิส ไว้ให้เป็นน้ำแข็ง แล้ว ตอน เที่ยงๆ สัก 11 โมงถึง บ่าย 3 โมง ให้ทยอยเอาขวดน้ำแข็งมาใส่ลงไป ทีละขวด..ก็เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า..ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว ก็คือ หาทางย้ายระบบ หาวัสดุมาคลุมถังสารละลาย รวมไปถึงอาจจะต้องทำละอองสโม๊ค เพื่อลดอุณหภูมิรางปลูก..รวมไปถึงขั้นสุดท้าย ถ้าอุณหภูมิในถังสารละลายยังเกิน 30องศาC เราก็แนะนำให้ปลูกผักไทยซะ..แล้วหน้าหนาวค่อยปลูกผักสลัดกัน..ใหม่..!
 (jpg) 2009822_42126.jpg แต่ถ้าลูกค้ายังยืนยันว่า ฉันอยากปลูกผักสลัดในราง NFTตอนหน้าร้อนหรือหน้าฝน ละ คุณต้องทำให้ได้..ไม่เช่นนั้น โป้งด้วย..งานเข้าแล้วครับ...ทางออกสุดท้ายก็คือ ดัดแปลงให้ ราง NFT กักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น..ก็หมายถึงทำให้ระดับน้ำใน ราง NFT สูงกว่าปรกติ 2-3 ซม.เป็นอย่างน้อย..(DRFT กลายๆ) แล้วก็หมั่นเติมน้ำให้เต็มถังเสมอๆ..
แล้วถ้าทำแล้ว ผักยังตายอีกละ..ทางออกสุดท้าย ก็คือ แจกเมล็ดพันธ์ผักไทย ครับ...!
แต่ที่กล่าวมาทั้งหมด นั้นเป็นเพียง ปัญหา อันดับต้นๆของผักสลัดในบ้านเรา..แต่ก็ยังมี เรื่องอื่นๆอีก.หลายอย่าง...แล้วผมจะนำเสนออีกในคราวต่อๆไปครับ..
  กลับหน้าแรก.


..เรื่องสภาพแวดล้อม..  
 (jpg) 2009729_39352.jpg คนอย่างนายมือใหม่ไฮโดร..ความรู้ของตัวเองก็ยังไม่มากมายอะไรในเรื่องของการปลูกพืชไม่ใช้ดิน..ไม่กล้าที่จะอบรมแนะนำอะไรมากเกี่ยวกับเรื่องนี้..จะทำได้ก็เพียงแต่ ไปเห็นไปพบ..เรื่องราวดีๆ มีสาระความรู้..ตามเวปต่างๆ ก็ถือโอกาส นำมาเผยแพร่ให้ เรียนรู้,รับรู้กัน.อีกทอดนึง.โดยหวังว่า เจ้าของบทความคงไม่หวงนะ..ถือเสียว่า เป็นวิทยาทาน เมื่อวาน ไปพบบทความดีๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตรเข้า..เขาให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชไม่ใช้ดิน แบบ วิชาการเดี๊ยเลย..ผมอ่านดูแล้ว ก็ไปสดุดตรงหัวข้อ สภาพแวดล้อมเข้า.. อ่านไปอ่านมาหลายๆรอบ..อยากจะนำมาอธิบายต่อให้สมาชิกรับรู้กันแบบ ง่ายๆ...บ้านๆๆ..นะ..แต่ก็กลัวผิด แล้วก็กลัวเจ้าของบทความจะเคืองเอา..เลยขออนุญาติ  คัดลอกมาทั้งดุ้นเลย..ตามนี้ครับ..(ทนๆอ่านหน่อยละกัน...ไม่หนุกแต่ก็มีสาระนะ..) ส่วนข้อความด้านขวานะไม่ใช่ของกรมฯ แต่เป็นการตีความของผมเองครับ..
สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งการตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆเหล่านี้ไม่ได้แตกต่างกันไม่ว่าจะปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิมหรือด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ ปัจจัยที่เป็นตัวควบคุม การเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชมีอยู่หลายปัจจัย แต่มีปัจจัยที่สำคัญดังต่อไปนี้
(icons) 2009729_37111.jpg (icons) 2009729_37380.jpg  (icons) 2009729_37496.jpg
 (jpg) 2009729_40046.jpg

 1 อุณหภูมิ อุณหภูมิควบคุมอัตราการเจริญเติบโตของพืช โดยมีผลโดยตรงต่อการสังเคราะห์แสง การหายใจ การดูดธาตุอาหาร การคายน้ำและกิจกรรมของเอนไซม์ต่างๆ ทั่วไปอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นมีผลในการเร่งขบวนการทางเคมีต่างๆ ในพืช ขบวนการเหล่านี้ควบคุมโดยเอนไซม์ ซึ่งจะทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิแคบๆ อุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่าช่วงที่เหมาะสมจะทำให้  เอนไซม์ทำงานลดลง มีผลให้ปฏิกริยาเคมีต่างๆ ในพืชลดลงหรือหยุดไปด้วย เมื่อถึงจุดนี้ พืชจะอยู่ในภาวะเครียดและหยุดเจริญเติบโต และอาจตายได้ในที่สุด การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของพืชจึงเป็นเรื่องสำคัญ

สำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ อุณหภูมิมีบทบาทสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ออกซิเจนละลายน้ำได้ลดลง ทำให้มีออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการหายใจของราก
เช่นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 25องศาc เป็น 30องศาc จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงจาก 8.25 ppm เหลือเพียง 7.51 ppm

 เหอะๆ พล่ามมาซะยาว..สรุปว่า อากาศ ร้อนๆหนาวๆเนี่ยทำให้อาหารย่อยยาก พอย่อยยากก็ท้องอืด..เบื่ออาหาร..กินไม่เป็นเวลา..ร่างการก็ซูบผอม..เป็นผลให้ร่างกายอ่อนแอ ติดโรคภายนอกได้ง่าย..ว่างั้นละ..
ดังนั้นควรให้น้ำในระบบ อยู่ประมาณ 25-30 องศาc.ดีที่สุด..

ตีความแบบบ้านๆก็คือ น้ำในถังสารละลายเราร้อนเมื่อไร ก็เอาน้ำแข็งใส่ลงไป..หรือ.จะเอา อ๊อคตู้ปลามาเติมอากาศให้กับถังสารละลายก็ได้เหมื่อกัน..อย่างน้อยก็ถูกก่าน้ำแข็ง.

 (jpg) 2009729_40372.jpg  2 ความชื้นสัมพัทธ์ มีผลโดยตรงต่อการคายน้ำของพืช เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงจะทำให้พืชคายน้ำน้อยลง ส่งผลให้การลำเลียงแร่ธาตุอาหารต่างๆ จากรากไปสู่ใบลดลง และยังทำให้อุณหภูมิที่ใบสูงขึ้น นอกจากนี้ความชื้นสัมพัทธ์สูงยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคบางโรคได้ง่ายอีกด้วย  คงจะหมายถึง ช่วงหน้าฝนความชื้นสูง รวมไปถึง การที่เราเปิดสปริงเกอร์..พ่นละอองลดอุณหภูมิ..บ่อยๆก็ไม่ดี..สรุปใจความได้ว่า การขับถ่ายไม่เป็นปรกติ..(ท้องผูกว่างั้นละ..!) ทำให้เบื่ออาหาร.มิน่าเล่า ทำไมหน้าหนาวผักถึงได้โตดีจัง..อากาศแห้งและ อุณหภูมิต่ำนี้เอง..เพิงรู้ความจริง..
 (jpg) 2009729_40626.jpg 3 แสง เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช เพราะแสงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอาหารหรือการสังเคราะห์แสงของพืช โดยมีคลอโรฟิลล์เป็นตัวรับแสงไปใช้เป็นพลังงานในการ  เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นคาร์โบไฮเครตและออกซิเจน แสงมีคุณสมบัติ 3 ประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ ความยาวคลื่น ความเข้มแสงและระยะเวลาที่พืชได้รับ สง  คุณสมบัติที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ที่สุด คือความเข้มแสง ความเข้มแสงที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะมีผลในการลดการสังเคราะห์แสงของพืช  ทำให้พืชมีการเจริญเติบโต น้อยลง สำหรับการปลูกพืชในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตร้อน ได้รับแสงที่มีความเข้มสูง การปลูกพืชในที่โล่งจึงต้องมีการให้ร่มเงาเพื่อลดความเข้มแสง  นอกจากนี้แสงยังสัมพันธ์กับอุณหภูมิคือ เมื่อแสงมีความเข้มมากขึ้นอุณหภูมิก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะมองข้ามความสัมพันธ์นี้ไม่ได้  เนื่องจากอุณหภูมิของสารละลายที่ใช้ปลูกพืชมีบทบาทอย่างมากต่อกิจกรรมของราก  รับทราบ...ถ้าจะให้สรุปก็คงจะเป็น ..ตากแดดมาไป ก็ตัวดำ.ไข้ขึ้นได้ง่าย...ไม่มีแดดเลยก็ผิวพรรณ หม่นหมอง..ซูบซิดเป็นผีตายซาก..แต่ประเด็น อยู่ที่ว่า เราจะเอาผักของเราไปตากแดด แบบไหนละถึงจะ เหมาะ..สงสัยเรื่องนี้ ต้องขยายความต่อ...! ยังไม่เครีย...?
 (jpg) 2009729_40977.jpg 4 องค์ประกอบของบรรยากาศ พืชต้องใช้ คาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสง ในอากาศโดยปกติมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณร้อยละ 0.03 ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของพืช นอกจากในบริเวณที่มีพืชหนาแน่นคาร์บอนไดออกไซด์อาจเป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตของพืชได้ในเวลากลางวัน เนื่องจากมีการสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นมาก นอกจากคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว พืชต้องการออกซิเจน ใช้ในการหายใจเพื่อเปลี่ยนพลังงานเคมี ที่สะสมไว้ในรูปคาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานใช้ในปฏิกริยาเคมีต่างๆ ในการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์นั้นส่วนที่อยู่เหนือดินมักไม่มีปัญหาการขาด ออกซิเจน เนื่องจากในอากาศมีออกซิเจนอยู่ถึงร้อยละ 20 แต่ในส่วนของรากที่อยู่ในสารละลายมักเกิดปัญหาเนื่องจากปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงต้องมีการเติมออกซิเจน ในสารละลายซึ่งอาจทำได้โดยใช้ปั๊มหรือเครื่องสูบลม หรืออาจใช้ระบบหมุนเวียนสารละลาย โดยปกติควรรักษาระดับออกซิเจนในสารละลายให้อยู่ที 8 ppm  แล้วไอ้เจ้า 8 ppm เนี่ย เราจะรู้ได้ไงละ.. จะใช้วิธีดม หรือ ชิม ก็คงจะไม่รู้..ppm เนี่ย ตามที่ท่านพระครูเคยสอนไว้ คงจะหมายถึง มิลลิกรับต่อสิตร มั้ง ดังนั้น วิธีการตรวจสอบ ให้ เราตักน้ำในถังปลูกเราออกมา 1 ลิตร แล้ว เอาตะแกลงวิเศษ ช้อนอ๊อคซิเจ็นออกมาให้หมด แล้ว เอาไปชั่งดูว่า ได้ 8 มิลลิกรัมไหม..
 (jpg) 2009729_41269.jpg 5 คุณภาพน้ำ คุณภาพน้ำมีความสำคัญมากในการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เนื่องจากพืชที่ปลูกได้รับธาตุอาหารต่างๆจากสารละลายธาตุอาหารซึ่งต้องใช้น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญ ถ้าน้ำมีการปนเปื้อน ของจุลิทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ โรคจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีการฆ่าเชื้อก่อนนำไปใช้ ซึ่งอาจใช้คลอรีน หรือ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือ แคลเซียมไฮโปคลอไรด์ก็ได้ ถ้าน้ำขุ่นเนื่องจาก มีสารแขวนลอย จะต้องกรองเอาตะกอนออก
    นอกจากนี้ถ้าน้ำที่ใช้มีองค์ประกอบทางเคมีที่ไม่เหมาะสม เช่น มีจุลธาตุบางตัวในปริมาณมากเกินไป ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชด้วยวิธี ไฮโดรโปนิกส์คือ  น้ำฝนหรือน้ำจากคลองชลประทาน
 ค่อยยังชั่ว อันนี้ง่ายหน่อย ..ก้มดูในถัง ถ้าขี้ผงเยอะก็ช้อนออกซะให้หมด..อืม....(แล้วก็คงจะหมายถึง ขี้ผงเหล่านี้ อาจจะไปอุตันปั้มน้ำเราน้ำเดินไม่สดวกและ ทำให้ปั้มพังได้เหมือนกัน..)
 (jpg) 2009729_41538.jpg 6 ปฏิกริยาน้ำ (pH) pH ของน้ำมีผลทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตของพืช เกี่ยวข้องกับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร โดยทั่วไปการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ สารละลายธาตุอาหารพืชควร มี pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 หรือประมาณ 6 ไม่ควรเกิน 7 ขึ้นกับชนิดพืช  พีฮ้งพีเฮ็ด อะไรเนี้ย เรียก กรดเรียกด่าง ไม่ง่ายกว่าหรือไง พระครูคนเดิมเคยบอก กระผมไว้ว่า ph เนี่ย ถ้าต่ำกว่า 7 หมายถึง มีค่าความเป็น กรด แล้วส่วนที่เกิน 7 เนี่ย มันมีค่าความเป็นด่าง..ตามตัวเลขที่เขาวิจัยกันมา ก็สรุปได้ว่า ผักน้อยของเราส่วนใหญ่ชอบ กรดอ่อนๆ..(แล้วอย่า..เชียวละ ..ไปเอาน้ำกรดเติมลงไปในถังสารละลาย..ตายหมดทั้งผักทังคน ไม่รู้ด้วย..!)
 (jpg) 2009729_41898.jpg 7 ธาตุอาหารพืช พืชที่ยังคงความสดอยู่จะมีปริมาณน้ำประกอบอยู่ร้อยละ 80-95 ถ้าเก็บต้นพืชมาชั่งจะได้น้ำหนักสด เมื่อวางทิ้งไว้พืชจะเหี่ยวลงเนื่องจากสูญเสียน้ำอยู่ตลอดเวลา  และถ้านำไปอบที่อุณหภูมิ 70องศาc  เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง น้ำส่วนใหญ่ที่อยู่ในต้นพืชจะระเหยไป เมื่อนำไปชั่งอีกครั้งเพื่อหาน้ำหนักแห้งจะพบว่าพืชมีน้ำหนักลงลงอย่างมากเหลือ เพียงร้อยละ 10-20 ของน้ำหนักสดที่ชั่งครั้งแรก ยกตัวอย่าง เก็บผักคึ่นฉ่ายมา 1 ต้น สมมุติว่าชั่งได้น้ำหนักสด 100 กรัม แต่เมื่อนำไปอบให้แห้งแล้วชั่งใหม่จะเหลือน้ำหนักแห้งเพียง  10 กรัม เป็นต้น น้ำหนักแห้งที่ได้นี้มากกว่าร้อยละ 90 ประกอบด้วยแร่ธาตุ 3 ชนิด คือ คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H) ซึ่งได้มาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซออกซิเจน (O2) ในบรรยากาศ และ น้ำ (H2O) ส่วนที่เหลือเป็นแร่ธาตุชนิดอื่นๆ ที่ประกอบเป็นต้นพืช จากตัวอย่างคึ่นฉ่ายจะพบว่ามีธาตุอื่นๆ เพียงร้อยละ 1 ของน้ำหนักสด  หรือเท่ากับ 1 กรัม  แล้วจะรู้ไปทำไม่ละข้อนี้...สงสัยจะสื่อให้เห็นว่า ผักเรา 1 ต้นเนี่ย มี น้ำประกอบซะเป็นส่วนใหญ่..ดังนั้น ควรหันมากินน้ำแทนการกินผัก..(เงอะ..!)
ที่มา www.doae.go.th/library/html/detail/hydroponic/hydro_2.htm (ยังมีหัวข้อที่น่าสนใจอีกเยอะ..ไปลองอ่านเพิ่มเอาละกัน..อันที่เอามาลงนี้แค่น้ำจิ้ม..) พบกันใหม่คราวหน้า..กับ นานาสาระกับนายไฮโดรมือใหม่..เจ้าเก่า..
กลับหน้าแรก.

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 59,246 Today: 7 PageView/Month: 222

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...